ความหมายของคอมพิวเตอร์
- คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า "Computare" ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ
- พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
สรุปได้ว่าคอมพิวเตอร์คือเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้
ต้นกำเนิดคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กับอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการมานานแล้วเริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณ คือ "ลูกคิด" (Abacus) ของชาวจีน เมื่อประมาณ 2,00-3,000 ปีมาแล้ว
บิดาแห่งคอมพิวเตอร์
ในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบแบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์(บัตรเจาะรู) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม โดยใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู หลักการนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้
ชาร์ลแบบเบจ (Charles Babbage) เป็น บิดาแห่งคอมพิวเตอร์
โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คนแรกของโลก
เอดา ไบรอน เลิฟเลซ หรือ เอดา ออกุลต้า (Lady Augusta Ada Byron, Countess of Lovelace) เป็นบุตรสาวของ ลอร์ด ไบรอน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2358 เมื่อเธอออายุ 17 ปี ได้รู้จัก Mrs. Somerville แห่งเคมบริดจ์ โดยนับได้ว่าเป็นผู้หญิงเก่งแห่งยุค เอดาจึงเข้ามาคลุกคลีกับเพื่อนกลุ่มนี้ จนวันหนึ่งได้รู้จักกับ ชาลส์ แบบเบจ ในงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง ซึ่งในงานวันนั้น ตอนที่แบบบิจกล่าวว่า “what if a calculating engine could not only foresee but could act on that foresight” (จะเป็นอย่างไร ถ้าหากเครื่องคำนวณไม่เพียงสามารถหยั่งรู้ได้ หากแต่สามารถตอบสนองต่อการหยั่งรู้นั้นได้ด้วย) แต่ไม่มีใครสนใจแนวคิดนี้ของแบบบิจเลย ยกเว้นเอดา ซึ่งเธอรู้สึกสนใจในงานนี้เป็นอย่างมาก จนอาสาที่จะช่วยพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือ การสร้างภาษาสำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของแบบเบจ
ยุคของคอมพิวเตอร์
ยุคที่ 1 ยุคหลอดสูญญากาศ (Vacuum Tube)
ยุคที่ 2 ยุคทรานซิสเตอร์ (Transistor)
ยุคที่ 3 ยุคไอซี (Integrated Circuit : IC)
ยุคที่ 4 ยุควีแอลเอสไอ (Very Large Scale Integrated : VLSI)
ยุคที่ 5 ยุคปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)
ยุคที่ 1 ยุคหลอดสูญญากาศ (Vacuum Tube) พ.ศ. 2489-2501
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้สูญญากาศในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ต้องใช้กำลังไฟฟ้ามากและทำให้เกิดความร้อนสูง จึงต้องติดตั้งเครื่องในห้องปรับอากาศ เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่มาก มีราคาแพง สื่อที่ใช้ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ บัตรเจาะรู ความเร็วในการทำงานเป็นวินาที
ยุคที่ 2 ยุคทรานซิสเตอร์ (Transistor) พ.ศ. 2502-2506
มีการนำทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศเนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียวมีประสิทธิภาพเทียบเท่าหลอดสูญญากาศนับร้อยหลอด จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยลง ความร้อนต่ำลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยใช้ส่วนความจำเป็นวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core) มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
มีการคิดภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language) และเริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรม
ยุคที่ 3 ยุคไอซี (Integrated Circuit : IC) พ.ศ. 2502-2506
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก
ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
ยุคที่ 4 ยุควีแอลเอสไอ (Very Large Scale Integrated : VLSI) พ.ศ. 2513-2532
เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้
มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)
ยุคที่ 5 ยุคปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน
ยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล
1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)
2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System)
3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System)
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
1. ด้านการศึกษา (education)
มีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ในการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ เช่น การค้นหาข้อมูล ข่าวสารความรู้ ใช้ในการพิมพ์รายงาน สร้างงานนำเสนอ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learnning) เป็นต้น
2. ด้านงานธุรกิจ (business)
คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้กับงานด้านธุรกิจ ทั้งการจัดทำเอกสาร นำเสนองาน โดยนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ กันทั่วไป เช่น Microsoft office หรือห้างร้านต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำระบบบัญชีสำเร็จรูป เพื่อทำรายการซื้อและขายสินค้า การตรวจสอบยอดคงเหลือของสินค้า ธุรกิจออนไลน์นำคอมพิวเตอร์มาใช้งานในรูปแบบของการซื้อ และขายสินค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต (e-commerce) การรับชำระเงินออนไลน์ เป็นต้น
งานธนาคารที่บริการฝากเงิน การถอนเงิน การโอนเงิน การกู้ยืมเงิน การคิดดอกเบี้ย รวมถึงการทำธุรกรรม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-banking) หรือการทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยใช้โทรศัพท์มือถือผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ (m-Banking) เป็นต้น
3. ด้านงานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข (science and medical)
สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้าง ซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของโลก การส่งจรวดไปสู่อวกาศ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้ รวดเร็วขึ้น
4. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกร (engineering and architecture)
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคาร เมื่อเกิดแผ่นดินไหวโดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดง ภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุม และติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
5. งานราชการ (government)
เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาท และหน้าที่ ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ กรมสรรพากร ใช้ในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี กรมการปกครองใช้คอมพิวเตอร์จัดทำบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น
6. งานสื่อสารโทรคมนาคม (telecommunication)
ปัจจุบันทีการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปโดยง่าย เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) สังคมออนไลน์ (social network) เป็นต้น งานคมนาคม เช่น รถไฟ รถไฟฟ้า รถประจำทาง เครื่องบิน ระบบนำทางบอกพิกัด (GPS) และนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในส่วนการเดินทาง เช่น การสำรองที่นั่ง ออกบัตรโดยสาร การตรวจสอบตารางเดินทาง ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังสถานีต่าง ๆ ได้ทำให้สะดวก และไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
1. ฮาร์ดแวร์ Hardware
2. ซอฟแวร์ Software
3. บุคลากร Peopleware
4. ข้อมูลและสารสนเทศ Data and Information
5. กระบวนการทำงาน procedure
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ซึ่งสามารถเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ เช่น จอภาพ แป้นพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ลักษณะการทำงานเราสามารถแบ่งออกเป็น 5 หน่วย คือ
1.1 หน่วยรับ (Input Unit)
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลและคำสั่งต่างๆ จากผู้ใช้งานผ่านอุปกรณ์ประเภทต่างๆ ได้แก่ เมาส์ แป้นพิมพ์ สแกนเนอร์ ไมโครโฟน เป็นต้น
1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูล และควบคุมการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของคนเรา ที่มีหน้าที่คิดคำนวณและควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ประกอบด้วยสองส่วนคือ
1. หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุม(Control Signal) ไปควบคุมการทำงานของหน่วยประมวลผล เป็นเหมือนผู้ที่ทำหน้าที่ปิด-เปิดสวิตช์ เพื่อควบคุมวงจรให้ทำงานตามคำสั่ง
2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit : ALU) ทำหน้าที่หลัก 2 อย่างคือ
1. ทำหน้าที่ด้านตรรกะ คือ การเปรียบเทียบ ได้แก่ เท่ากับ ไม่เท่ากับ มากกว่า น้อยกว่า มากกว่าหรือเท่ากับ น้อยกว่า หรือเท่ากับ
2. ทำหน้าที่เป็นเครื่องคิดเลขคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร
CPU
ROM
RAM
1.3 หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
เป็นส่วนที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล คำสั่ง ที่รับเข้ามาจากหน่วยรับข้อมูล และผลลัพธ์ต่างๆ ที่ได้จากการประมวลผล แต่สามารถเก็บข้อมูลได้เฉพาะตอนที่มีพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น แบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่ แรม (RAM: Random Access Memory) เป็นแบบอ่านและเขียนคำสั่งลงไปได้ และ รอม (ROM: Read Only Memory) เป็นแบบอ่านอย่างเดียว ซึ่งไม่สามารถเขียนคำสั่งใหม่ลงไปได้
1.4 หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Unit)
หน่วยความจำรองหรือหน่วยเก็บข้อมูล (Storage) มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ไว้ เช่น เก็บข้อมูลตัวอักษร รูปภาพ เสียง ต่างๆ และสามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกตามต้องการ บางครั้งเรียกว่า หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) ตัอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ยูเอสบีไดรฟ์ (USB) แผ่นซีดี/ดีวีดี/บลูเรย์ เป็นต้น
1.5 หน่วยแสดงผล (Output Unit)
เป็นส่วนที่ใช้แสดงผลลัพธ์ที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ผ่านอุปกรณ์ที่สามารถแสดงผลได้ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ ลำโพง เป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ บางครั้งเรียกว่า โปรแกรม หรือ ชุดคำสั่ง ที่เขียนขั้นมาเพื่อสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่างๆ ตามความต้องการ ถ้าไม่มีซอฟร์แวร์เราก็จะไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
คือ โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างให้สามารถทำงานอื่นๆ ได้อย่างถูกต้อง ซอฟต์แวร์ระบบที่เป้นที่รู้จักกันดี คือ Dos, Windows, Unix, Linux เป็นต้น
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือ โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้ใช้ต้องการ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุต์ที่นิยมใช้ ได้แก่ Microsoft Word, Microsoft PowerPoint, Paint, Internet Explorer และเกมต่างๆ
3. บุคลากร (Peopleware)
หมายถึง บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับคอมาพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องมีความรู้เกี่ยวกบคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานหรือสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
3.1 ผู้จัดการระบบ (System Manager)
คือ ผู้กำหนดนโยบายการใช้โปรแกรมหรือคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
3.2 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
คือ ผู้ที่มีหน้าที่ศึกษาและวิเคราะห์ระบบ เพื่อดูความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับระบบงานภายในองค์กร
3.3 โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ทำงานตามความต้่องการของผู้ใช้ โดยจะเขียนตามที่นักวิเคราะห์ระบบได้วางไว้
3.4 ผู้ใช้ (User)
คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ที่ต้องรู้วิธีการใช้เครื่อง และใช้งานโปรแกรม เพื่อให้สามารถทำงานตามที่ต้องการได้
4. ข้อมูลและสารสนเทศ(Data and Information)
ข้อมูลสารสนเทศ เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการประมวลผล ซึ่งคอมพิวตเอร์จะประมวลผลตามข้อมูลหรือสารสนเทศที่ป้อนเข้าสู่หน่วยรับข้อมูล ถ้าชข้อมูลที่ป้อนเข้าไปมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะมีความถูกต้องและเชื่อถือได้
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ได้จาการรวบรวม ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือเสียง เืพ่อให้ระบบคอมพิวตอร์ทำการประมวลผลให้ได้สารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำเอาข้อมูลมาประมวลผล ซึ่งในบางครั้งสารสนเทศอาจจะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศอีกอย่างหนึ่งก็ได้
5. กระบวนการทำงาน (Procedure)
กระบวนการทำงาน เป็นขึ้นตอนที่ผู้ใช้ต้องทำตาม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือสารสนเทศจากคอมพิวเตอร์ และในการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ สิ่งที่จำเป็นอย่างหนึ่ง คือ ผู้ใช้ทุกคนจะต้องเข้าใจขั้นตอนการทำงานเพื่อให้สามารถทำงานได้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
การทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีฮาร์ดแวร์ (Hardware) หน่วยสำคัญ 5 หน่วย ได้แก่
1. หน่วยรับเข้า (Input Unit)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Processing Unit)
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
4. หน่วยความจำรองหรือหน่วยเก็บ (Secondary Storage Memory)
5. หน่วยส่งออก (Output Unit)
ลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการคือ นำเข้าข้อมูล (Input) ประมวลผลข้อมูล (Process) และ ส่งออกหรือแสดงผลข้อมูล (output) ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ
ให้นักเรียนศึกษาจากวิดีโอต่อไปนี้