รู้จักไพทอน (Python)
Python เป็นภาษาเขียนโปรแกรมระดับสูงที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการเขียนโปรแกรม ถูกพัฒนาขึ้นโดย กีโด ฟาน รอสซัม Guido van Rossum และถูกเผยแพร่ครั้งแรกในปี 1990 ปัจจุบันถูกดูแลโดย Python Software Foundation (PSF) Python นั้นเป็นภาษาแบบ interprete ที่ถูกออกแบบโดยมีปรัญชาที่จะทำให้โค้ดอ่านได้ง่ายขึ้น และโครงสร้างของภาษานั้นจะทำให้โปรแกรมเมอร์สามารถเข้าใจแนวคิดการเขียนโค้ดโดยใช้บรรทัดที่น้อยลงกว่าภาษาอย่าง C++ และ Java ซึ่งภาษานั้นถูกกำหนดให้มีโครงสร้างที่ตั้งใจให้การเขียนโค้ดเข้าใจง่ายทั้งในโปรแกรมเล็กไปจนถึงโปรแกรมขนาดใหญ่
จุดเด่นของไพทอน (Python)
ไวยากรณ์อ่านง่าย (Very Clear and Readable Syntax)
Python ได้จำกัดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการแบ่งบล็อกของโปรแกรมเป็นการย่อหน้าแทน ทำให้สามารถอ่านโปรแกรมที่เขียนได้ง่ายนอกจากนั้นยังมีการสนับสนุนการเขียน docstring ซึ่งเป็นข้อความสั้นๆ ที่ใช้อธิบายการทำงานของฟังก์ชั่น, คลาส, และโมดูล
เป็นภาษากาว (Glue Language)
python เป็นภาษากาว (Glue Language) เนื่องจากสามารถเรียกใช้ภาษาโปรแกรมอื่นๆได้หลายภาษาทำให้เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมเพื่อประสานงานกับภาษาอื่นๆ
ไลบรารีในไพทอน
python ใช้ไลบรารีในการลดภาระให้กับผู้พัฒนาโปรแกรมได้อย่างดีทำให้ผู้พัฒนาโปรแกรมไม่ต้องเสียเวลากับการเขียนคำสั่งที่ซ้ำๆยกตัวอย่างเช่นการแสดงผลข้อมูลออกสู่หน้าจอ หรือ การรับค่าต่างๆ Python มีชุดไลบรารีที่เป็นมาตรฐานมาให้ตั้งแต่ตอนติดตั้งอินเตอร์พรีเตอร์
ทำงานได้รวดเร็ว
Python ทำงานได้รวดเร็วเมื่อเทียบกับภาษา Script ด้วยกัน เช่น PHP, JSP, ASP หรือจะบอกว่า Python เขียนน้อยแต่ได้งานมาก ทำงานเร็วก็ไม่ผิด
ฝึกเขียน Python ด้วยเว็บไซต์ Trinket
Trinket เป็นเว็บไซต์ที่ให้เราเขียนคำสั่งและแปลผลแบบออนไลน์ โดยที่เราไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมในเครื่อง อีกทั้งยังสามารถแชร์ให้ผู้อื่นได้ทดลองรัน (run) หรือแก้ไข โค๊ดของเราได้ด้วย
การใช้งานเว็บ Trinket
1. เข้าเว็บไซต์ Trinket.io
2. คลิกเลือก Sign Up For Free Account หรือ Sign Up ด้านบนขวา
3. สามารถเชื่อมโยงบัญชีกับ Google , Clever หรือ Edmodoo ได้โดยไม่ต้องสมัคร
4. หรือสมัครใช้งานฟรีโดยการกรอก
Full Name ชื่อ-นามสกุล
Username ชื่อสำหรับเข้าใช้ระบบ
Email Address อีเมล์สำหรับร้บข้อมูลข่าวสาร
5. กรอกข้อมูลแล้วคลิกปุ่ม Sign Up
การเข้าสู่ระบบ
1. คลิก Log In
2. สามารถเชื่อมโยงบัญชีกับ Google , Clever หรือ Edmodoo ได้
3. หรือกรอก Email หรือ username และ password ที่ได้สมัครเอาไว้
4. คลิกปุ่ม Log In
5. จะปรากฎชื่อที่เราเข้าใช้ระบบด้านบนขวา ดังรูป
การสร้าง trinket Python ใหม่
คลิก New Trinket แล้วเลือก Python เพื่อสร้างไฟล์ใหม่
ส่วนต่างๆ ของ Trinket
1. ชื่อไฟล์
2. พื้นที่สำหรับพิมพ์โค้ด
3. พื้นที่แสดงผลลัพธ์โปรแกรม
4. ปุ่มรัน เพื่อแสดงผลลัพธ์
5. ปุ่มบันทึก และยกเลิกไฟล์
6. ตั้งค่าเพิ่มเติม
เมื่อบันทึก (Save) ไฟล์ที่เราสร้างจะไปอยู่ที่ My Trinkets ดังภาพ
ใบงานที่ 4.1
1. ให้นักเรียนสมัครเข้าใช้งานเว็บ Trinket โดยการเชื่อมต่อกับบัญชี Google หรือสมัครบัญชีใหม่ก็ได้
2. ให้นักเรียนเข้าสู่ระบบด้วย Google หรือด้วยบัญชีที่สมัครใหม่ก็ได้
คำสั่ง print
print เป็นคำสั่งสำหรับแสดงผลทางหน้าจอ โดยมีไวยากรณ์ดังนี้
print(ตัวแปรหรือข้อมูล)
ชนิดข้อมูลใน Python (Variable Type)
String ข้อมูลตัวอักษร
การกำหนดตัวแปร String หรือการแสดงผล สามารถใช้ได้ทั้ง Single Quote (') Double Quote (") และ Triple Quote ('"")
Number ข้อมูลตัวเลข
int เลขจำนวนเต็ม เช่น 1 2 100
float จำนวนทศนิยม หรือ จำนวนจริง เช่น 50.35 100.68
long ตัวเลขฐานแปด และ ตัวเลขฐานสิบหก เช่น 2AF3
complex จำนวนเชิงซ้อน
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง print
ใบงานที่ 4.2
1. ให้นักเรียนใช้คำสั่ง print ในการแสดงผลข้อความ (string) ดังต่อไปนี้
ชื่อ-นามสกุล โดยใช้เครื่องหมาย Single Quote (')
ระดับชั้น/ห้อง โดยใช้เครื่องหมาย Double Quote (")
โรงเรียน โดยใช้เครื่องหมาย Triple Quote (""")
2. ให้นักเรียนใช้คำสั่ง print ในการแสดงผลตัวเลข (number) ดังต่อไปนี้
9999+8888
1010+2020
การกำหนดตัวแปร (Variable)
คือการกำหนดคำขึ้นมาเพื่อเก็บข้อมูลที่อยู่ทางด้านขวา โดยใช้เครื่องหมายเท่ากับ (=)
กฎการกำหนดตัวแปร
Python ไม่จำเป็นต้องประกาศตัวแปรก่อนใช้งาน สามารถกำหนดคำขึ้นมาแล้วเรียกใช้ได้เลย โดยมีกฎดังนี้
ใชัตัวอักษร A-Z หรือ a-z โดยตัวอักษรพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่มีความแตกต่างกัน (Case Sensitive)
ตัวแปรห้ามขึ้นต้นด้วยตัวเลขแต่ใช้ประกอบในชื่อตัวแปรได้ตั้งแต่ 0-9
ใช้สัญลักษณ์ขีดล่าง (Underscore) ขึ้นต้น หรือผสมอยู่ในตัวแปรได้
ตัวแปรห้ามมีช่องว่าง
ห้ามมีสัญลักษณ์พิเศษ (@, ?, #, $, ...)
ตัวแปรห้ามซ้ำกับคำสงวน ได้แก่
*ควรตั้งชื่อตัวแปรที่สื่อความหมายให้ชัดเจน เพื่อผู้อื่นตีความหมายได้เข้าใจ แต่ถ้ามีความยาวมากให้ย่อ
เช่น student_name ควรใช้ st_name เป็นต้น
ตัวอย่างการกำหนดตัวแปรเพื่อเก็บข้อมูล
ตรวจสอบค่าในตัวแปร
การตรวจสอบตัวแปรใน Python ว่าเก็บข้อมูลชนิดใด สามารถทำได้โดยใช้ฟังก์ชั่น type() ตัวอย่างเช่น
print(type(a))
โปรแกรมก็จะแสดงว่าตัวแปร a ว่าเก็บข้อมูลชนิดใดอยู่
การแปลงชนิดข้อมูลในตัวแปร
การแปลงชนิดข้อมูลในตัวแปรสามารถทำได้โดยใช้ฟังก์ชั้นต่างๆ ดังนี้
str() แปลงข้อมูลเป็นตัวอักษร (string)
int() แปลงข้อมูลเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม (int. number)
float() แปลงข้อมูลเป็นตัวเลขจำนวนจริงหรือตัวเลขทศนิยม (float number)
ตัวอย่างการตรวจสอบตัวแปรว่าเก็บข้อมูลชนิดใดอยู่ และเปรียบเทียบการใช้ + ในการเชื่อม string
ใบงานที่ 4.3
1. จงบอกว่าชื่อตัวแปรต่อไปนี้ใช้งานได้หรือไม่ พร้อมกับอธิบายเหตุผล
A_1 bird X X abc123
a_1 zero1 zzzzzzz I am
1_a in and PLschool
_aa the one 123abc M#1
2. ให้นักเรียนกำหนดตัวแปรเพื่อเก็บข้อมูล ที่เป็นไปตามกฎของการกำหนดตัวแปร เพื่อเก็บข้อมูลดังต่อไปนี้
ชื่อ-นามสกุล
ชื่อเล่น
ระดับชั้น
โรงเรียน
อายุ
น้ำหนัก
ส่วนสูง
3. ตรวจสอบว่าตัวแปรที่นักเรียนสร้างขึ้นเก็บข้อมูลชนิดใด
4. แปลงข้อมูล อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ให้เป็น string
5. แสดงผลตัวแปรจากข้อ 1 โดยใช้โค้ดคำสั่ง print และเชื่อมด้วยเครื่องหมาย +
ตัวอย่างการกำหนดตัวแปร list และการแสดงผล
ใบงานที่ 4.4.1
ให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่งต่อไปนี้
สร้างตัวแปร List โดยเก็บข้อมูลของตนเองได้แก่ เลขที่, ชื่อ, นามสกุล, ระดับชั้น และโรงเรียน
แสดงผลตัวแปร list ทุกตำแหน่ง
แสดงผลเฉพาะชื่อ และนามสกุล
แสดงผลเฉพาะเลขที่ และระดับชั้น
ตัวแปร List
ตัวแปรชินด List เป็นตัวแปรแบบ Compound Data Type คือสามารถเก็บค่าได้มากกว่าหนึ่งค่าในหนึ่งตัวแปร เพื่อการใช้งานที่หลากหลายและ การกำหนดค่าให้กับสมาชิกแต่ละตัวต้องอยู่ภายใต้เครื่องหมาย "[ ]"
การแสดงค่าในตัวแปรชนิด list สามารถแสดงค่าทั้งหมด หรือ แสดงค่าเฉพาะตำแหน่งที่ต้องการก็ได้ โดยการใช้ตำแหน่ง (index) ในการอ้างอิง
การอัพเดท การเพิ่มข้อมูล และการลบข้อมูลในตัวแปร list
การอัพเดทหรือเพิ่มค่าในตัวแปรชนิด list จะทำให้ค่าเก่าหายไป
การเพิ่ม
การลบค่าในตัวแปรชนิด list สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง del และระบุตำแหน่งที่ต้องการลบ เมื่อลบค่าแล้วตำแหน่งนั้นจะหายไปและตำแหน่งถัดไปจะเลื่อนขั้นมาแทนที่
การลบค่าในตัวแปรชนิด list โดยใช้เมธอด remove และระบุข้อมูลที่ต้องการลบ เมื่อลบค่าแล้วตำแหน่งนั้นจะหายไปและตำแหน่งถัดไปจะเลื่อนขั้นมาแทนที่
ตัวอย่างการอัพเดท การเพิ่มข้อมูล และการลบข้อมูลในตัวแปร list
ใบงานที่ 4.4.2
ให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่งต่อไปนี้
สร้างตัวแปร List โดยเก็บข้อมูลของตนเองได้แก่ เลขที่, ชื่อ, นามสกุล, ระดับชั้น และโรงเรียน
แสดงผลตัวแปร list ทุกตำแหน่ง
อัพเดทจากข้อมูล เลขที่ เป็นรหัสประจำตัวนักเรียน
แสดงผลตัวแปร list ทุกตำแหน่ง
ลบข้อมูลโรงเรียน
แสดงผลตัวแปร list ทุกตำแหน่ง
เพิ่มชื่อโรงเรียนโรงเรียนในตำแหน่งแรก
ตัวแปร Tuple
ตัวแปรชนิด Tuple เป็นตัวแปรแบบ Compound Data Type คือสามารถเก็บค่าได้มากกว่าหนึ่งค่าในหนึ่งตัวแปร เหมือนตัวแปร List แต่ต่างกันที่ ตัวแปรชนิด Tuple ไม่สามารถเพิ่มค่าได้ และการกำหนดค่าให้กับสมาชิกแต่ละตัวต้องอยู่ภายใต้เครื่องหมาย "( )"
ตัวอย่างการกำหนดตัวแปร Tuple
ตัวแปร Dictionary
ตัวแปรชนิด Dictionary เป็นตัวแปรแบบ Hash Table Type โดยจะต้องมี Key และ Value คู่กันเสมอ ซึ่ง Key ของ Dictionary จะใช้ตัวแปรชนิดใดของ Python การกำหนดค่าให้กับสมาชิกต้องอยู่ภายใต้เครื่องหมาย "{ }"
ตัวอย่างการกำหนดตัวแปร Dictionary
ใบงานที่ 4.4.3
ให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่งต่อไปนี้
สร้างตัวแปร Tuple ให้เก็บข้อมูล ชื่อ, นามสกุล, ชั้น, โรงเรียน
ทดลองอัพเดทข้อมูลแล้วดูผลลัพธ์
สร้างตัวแปร dictionary โดยเก็บข้อมูลของตนเองโดยมี key ดังนี้ คำนำหน้า, ชื่อ, นามสกุล, เพศ และ อายุ
แสดงผลตัวแปร dictionary ทุกตำแหน่ง
แสดงผลตัวแปร dictionary เฉพาะ คำนำหน้า, ชื่อ และนามสกุล
ตัวดำเนินการ (Operator) หมายถึง เครื่องหมายที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆ เช่น เครื่องหมายบวกเป็นการเพิ่มค่า เครื่องหมายลบเป็นการลบค่า หรือเพื่อให้เข้าใจจ่ายๆ ตัวดำเนินการ ก็คือ เครื่องหมายที่ไว้จัดการกับตัวแปร ยกตัวอย่างเช่น
กำหนดให้ a=1
กำหนดให้ b=2
ดังนั้น ถ้าให้ a+b=3 ตัวดำเนินการก็คือ "+"
ตัวดำเนินการใน Python
ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operators)
ตัวดำเนินการกำหนดค่า (Assignment Operators)
ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ (Comparison Operators)
ตัวดำเนินการทางตรรกะ (Logical or Relational Operators)
ตัวดำเนินการสมาชิก (Membership Operators)
ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operators)
หมายถึง เครื่องหมายที่ใช้ในการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร
ตัวอย่างการใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
ใบงานที่ 4.5.1
ให้นักเรียนใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์เพื่อหาคำตอบต่อไปนี้ แล้วแสดงผลออกทางหน้าจอ
123456789+987456321
5555-4444
101010*10
101010/10
101010//10
101010%10
999999**9
100+20-300)*(4/5)**2
ตัวดำเนินการกำหนดค่า (Assignment Operators)
หมายถึง เครื่องหมายที่ใช้ในการกำหนดค่าให้กับตัวแปร
ใบงานที่ 4.5.2
ให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่งต่อไปนี้
ให้นักเรียนทดลองใช้ตัวดำเนินกำหนดค่า ให้ครบทุกแบบ
แสดงผลทางหน้าจอ
ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ (Comparison Operators)
หมายถึง ตัวดำเนินการที่ใช้ในการเปรียบเทียบค่าในตัวแปรซึ่งจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น จริง (True) หรือ เท็จ (False) เท่านั้น โดยทั่วไปแล้วจะใช้กับการทำงานแบบมีเงื่อนไขหรือทางเลือก (IF Statement) และการทำงานแบบวนซ้ำ (Loop)
*ข้อควรระวังในการใช้คำสั่ง If ต้องระวังในเรื่องการแบ่งบล็อก เพราะไพทอน ใช้การแบ่งบล็อกในการประมวลผล
ตัวอย่างการใช้ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
ใบงานที่ 4.5.3
ให้นักเรียนสร้างตัวแปรและเปรียบเทียบค่าต่อไปนี้ว่าได้ผลลัพธ์เช่นใด แล้วแสดงผลออกทางหน้าจอ
100==101
200!=100
100<>100
50<50
60>50
70<=80
80>=80
ตัวดำเนินการทางตรรกะ หรือตัวดำเนินการแบบสัมพันธ์ (Logical Or Relational Operator)
คือตัวดำเนินการที่ทำหน้าที่เชื่อมการเปรียบเทียบเงื่อนไขตั้งแต่สองเงื่อนไข ขึ้นไป
ใบงานที่ 4.5.4
ให้นักเรียนสร้างตัวแปรและเปรียบเทียบค่าต่อไปนี้ว่าได้ผลลัพธ์เช่นใด แล้วแสดงผลออกทางหน้าจอ
100==101 หรือ 200!=100
100<>100 และ 50<50
60>50 หรือ 70<=80 หรือ 80>=80
100=="หนึ่งร้อย" และ 200==200 และ 300<>400
10!=10 และ 10!=20 หรือ 30<31
ตัวดำเนินการสมาชิก (Membership Operators
คือตัวดำเนินการที่มีไว้ตรวจสอบสมาชิกในตัวแปร
ตัวอย่างการใช้ตัวดำเนินการสมาชิก
ใบงานที่ 4.5.5
ให้นักเรียนใช้ตัวดำเนินการสมาชิกตรวจสอบว่าเป็นสมาชิกใน List ดังกล่าวหรือไม่ แล้วแสดงผล
list1=[1,2,3,4,5,'one','two',three','four','five']
ตรวจสอบค่า 5 และ five
ตรวจสอบค่า two หรือ 2
ตรวจสอบค่า six หรือ five
การรับค่าจากแป้นพิมพ์ ถือเป็นการติดต่อกับผู้ใช้อีกรูปแบบหนึ่ง โดยภาษา Python ไพทอน นั้นสามารถรับค่าได้ด้วยการใช้ฟังก์ชั่น input() สำหรับการรับข้อมูลที่เป็นตัวอักษร (String)
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง input() รับข้อมูล string
ใบงานที่ 4.4.1
ให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่งต่อไปนี้
ใช้คำสั่งรับค่าจากแป้นพิมพ์ โดยรับค่า คำนำหน้าชื่อ ชื่อ นามสกุล ระดับชั้น และโรงเรียน โดยให้สลับกันกรอกข้อมูล แล้วดูผลลัพธ์
ใช้ตัวเชื่อม "+" แทนการใช้คำสั่ง print() หลายๆ ครั้ง
นอกจากการรับค่าที่เป็น String (สตริง) แล้ว ยังสามารถรับค่าเป็นตัวเลข เพื่อนำไปคำนวณได้ โดยจะใส่ int ขึ้นมาก่อนหน้า input เพื่อที่เราจะสามารถนำค่าตัวเลขนั้นไปคำนวณ หรือใช้ในคำสั่งอื่นๆได้
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง input() รับข้อมูล int number (จำนวนเต็ม)
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง input() รับข้อมูล float number (จำนวนจริง)
ใบงานที่ 4.6
ให้นักเรียนสร้างโปรแกรมคำนวณหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม โดยใช้ข้อมูลชนิด float
ให้นักเรียนสร้างโปรแกรมคำนวณการหารจ่ายค่าอาหาร โดยใช้ข้อมูลชนิด int
การทำงานแบบทางเลือก (Selection)
การทำงานแบบทางเลือก (Selection) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การทำงานแบบตัดสินใจ (Decision) คือสามารถให้โปรแกรมเลือกทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งได้ โดยใช้เงื่อนไขเป็นตัวกำหนดการทำงานตามคำสั่ง โดยทั่วไปโปรแกรมจะกำหนดเอาไว้ว่าถ้าเงื่อนไขเป็นจริงโปรแกรมจะไปทำงานอย่างหนึ่ง แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จโปรแกรมก็จะไปทำงานอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็หมายความว่า โปรแกรมจะเลือกทำงานทิศทางใดทิศทางหนึ่งเท่านั้น
คำสั่งในการสร้างทางเลือกใน Python
ในการสร้างทางเลือกให้โปรแกรมทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เราต้องการในภาษาไพทอน เราจะใช้คำสั่ง IF Statement ซึ่่งจะใช้ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ หรือ ตัวดำเนินการทางตรรกะ หรือตัวดำเนินการอื่นๆ เข้ามาใช้ด้วย
IF Statement
หลัง if, elif, else ต้องตามด้วยเครื่องหมาย ":" เสมอ
ภายใต้เงื่อนไขจะมีกี่คำสั่ง (Statements) ก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้ Block ให้ถูกต้อง
การแบ่ง Block จะจบอัตโนมัติเมื่อขึ้นบรรทัดใหม่
จะมี eilf กี่ชั้นก็ได้ หรือ ไม่มีก็ได้
ไม่จำเป็นต้องมี else เสมอไป แต่หากมีจะได้แค่ชั้นเดียว และอยู่ชั้นสุดท้าย
ตัวอย่างการใช้ if และ if else
ใบงานที่ 4.7.1
ให้นักเรียนออกแบบ Flowchart แล้วสร้างเกมทายลูกเต๋า จากตัวอย่าง แล้วแชร์ส่งใน facebook ห้องเรียนครูสะอาด
ตัวอย่างการใช้ If elif สร้างโปรแกรมคำนวณดัชนีมวลกาย
ที่มาภาพ : โรงพยาบาลบางประกอก 9
Body Mass Index หรือ BMI คือ ค่าความหนาของร่างกาย ใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินภาวะอ้วนหรือผอมในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งคำณวนได้จาก การใช้น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมและหารด้วยส่วนสูงที่วัดเป็นเมตรยกกำลังสอง ซึ่งใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ดังสูตรต่อไปนี้
สูตรคำนวณหาดัชนีมวลกาย
ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)**2
ใบงานที่ 4.7.2
ให้นักเรียนออกแบบ Flowchart และสร้างโปรแกรมคำนวณเกรด แล้วแชร์ส่งใน facebook ห้องเรียนครูสะอาด
ความหมายของการทำงานแบบวนซ้ำ (Loop)
การทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) เป็นการนำคำสั่งนั้นๆ มาทำงานซ้ำ ซึ่งจะทำงานกี่รอบขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้เขียนโปรแกรมกำหนดไว้ เช่น วนซ้ำจนเงื่อนไขเป็นเท็จ เมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จแล้วให้ออกจากการลูป (Loop) อาจจะเป็นการกำหนดจำนวนรอบที่แน่นอน หรือแบบที่ไม่ทราบจำนวนรอบที่แน่นอน
ตัวอย่างอัลกอริทึม โปรแกรมสูตรคูณแม่ 2
While Loop Statements
While Loop คือการทำงานวนซ้ำโดยไม่ทราบจำนวนรอบที่แน่นอน และทำงานวนซ้ำจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ ซึ่งจะแตกต่างกับการวนลูปของ For ที่ทราบจำนวนรอบแน่นอน
*ควรระวังการเกิดลูปที่ไม่สิ้นสุด (Infinity Loop)
ตัวอย่างการใช้ While Loop สร้างสูตรคูณแม่สอง
ใบงานที่ 4.8.1
ให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่งต่อไปนี้ โดยใช้ While loop แล้วแชร์ส่งใน Facebook ห้องเรียนครูสะอาด
ให้นักเรียนแถวที่ 1 สร้างสูตรคูณแม่สาม
ให้นักเรียนแถวที่ 2 สร้างสูตรคูณแม่ห้า
ให้นักเรียนแถวที่ 3 สร้างสูตรคูณแม่เจ็ด
ให้นักเรียนแถวที่ 4 สร้างสูตรคูณแม่สิบสอง
For Loop Statements
For loop คือการทำงานซ้ำจนกว่าการทดสอบทางตรรกศาสตร์จะเป็นเท็จ ใช้งานคู่กับ in เมือ in คือ ตรรกศาสตร์ที่ต้องการเปรียบเทียบ
ใบงานที่ 4.8.2
ให้นักเเรียนสร้าง For Loop แล้วแชร์โค้ดของตนเองส่งใน facebook ห้องเรียนครูสะอาด โดยให้ได้ผลลัพธ์ดังนี้
เลขที่ 1 สมชาย
เลขที่ 2 สมหมาย
เลขที่ 3 สมปอง
เลขที่ 4 สมจริง
จบการทำงาน